การก่อสร้างอาคารทุกประเภท ต้องคำนึงถึงความปลอดภัยเป็นอันดับแรก เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาต่อผู้อยู่อาศัยในระยะยาว ดังนั้นโครงสร้างจึงเป็นส่วนประกอบสำคัญที่ต้องให้ความสำคัญ เริ่มต้นจาก การทาสีกันไฟ หรือ สีกันไฟไหม้ บนโครงสร้างเหล็กของอาคาร เพื่อยืดระยะเวลาการลุกลามของไฟ
เชื่อว่าหลายๆ คนในที่นี้อาจจะยังไม่รู้ว่า การทาสีกันไฟ นอกจากช่วยยืดระยะเวลาการลุกลามของไฟแล้ว ยังมีความปลอดภัยในด้านใดอีกบ้าง วันนี้ Bitec Enterprise จะมาแนะนำข้อควรรู้วิธีการทาสีกันไฟ รวมถึงเทคนิคการทาสีกันไฟ เพื่อเป็นแนวทางในการใช้งานอย่างถูกต้อง
มาตรฐานสีกันไฟ มีวิธีดูอย่างไร?
ไม่ว่าจะก่อสร้างอาคารประเภทใด ความปลอดภัยต้องมาก่อน ! สำหรับการก่อสร้างจะต้องคำนึงถึงความแข็งแรง ความทนทาน และทนต่อไฟ โดยเฉพาะโครงสร้างเหล็กต้องมีวัสดุเคลทอบเพื่อป้องกันไฟ เช่น สีกันไฟ ดังนั้นสีกันไฟ จึงเป็นส่วนประกอบสำคัญของงานก่อสร้างอาคาร ถ้าหากเป็นสีกันไฟที่ดีต้องได้รับมาตรฐานการรับรองจากสากล และมีคุณสมบัติ ดังนี้
- ผ่านมาตรฐาน ASTME 119 เพื่อทดสอบว่าสามารถกันไฟโครงสร้างอาคารเหล็กได้นาน 1-3 ชม.
- ผ่านการรับรองจากวุฒิวิศวกร เป็นไปตามกฎกระทรวงฉบับที่ 60
- ปราศจากกลิ่นและสารพิษ ผ่าน LEED ได้มาตรฐานอาคารเขียว Green Building
นอกจากนี้ทุกโครงการก่อสร้างไม่ว่าจะเป็นอาคารขนาดเล็ก ไปจนถึงขนาดใหญ่ จะต้องผ่านกฎหมายควบคุมอาคาร เพื่อดูแลในเรื่องของความปลอดภัย ซึ่งมาตรฐานโครงสร้างหลักอาคาร ที่จำเป็นต้องใช้วัสดุป้องกันไฟโครงสร้างเหล็ก ตามที่กฎกระทรวงฉบับที่ 60 กำหนดอัตราการทนไฟ มีดังนี้
โครงสร้างหลักอาคาร
- อาคารสำหรับใช้เป็นคลังสินค้า, โรงมหรสพ, โรงแรม, อาคารชุด หรือ สถานพยาบาล
- อาคารสำหรับใช้เพื่อทำกิจกรรม, อาคารพาณิชยกรรม, การอุตสาหกรรม, การศึกษา, การสาธารณสุข, สำนักงาน และที่ทำการที่มีความสูงตั้งแต่ 3 ชั้นขึ้นไป หรือพื้นที่ที่มีขนาดเกิน 1,000 ตร.ม.
- อาคารสูง, อาคารขนาดใหญ่, อาคารขนาดใหญ่พิเศษ หรือ อาคารที่ใช้เป็นหอประชุม
โครงสร้างอาคารข้างต้น ให้ก่อสร้างด้วยวัสดุทนไฟที่มีคุณลักษณะ ดังนี้ (กรณีโครงสร้างไม่มีคอนกรีตหุ้ม)
- โครงสร้างหลักที่เป็นเสา หรือ คาน ที่ก่อสร้างด้วยเหล็กโครงสร้างรูปพรรณต้องป้องกันเพื่อให้มีอัตราการทนไฟได้ไม่น้อยกว่า 3 ชม. และมีพื้นที่ให้อัตราทนไฟได้ไม่น้อยกว่า 2 ชม.
- อาคารชั้นเดียว โครงหลังคาต้องมีอัตราการทนไฟไม่น้อยกว่า 1 ชม.
- อาคารสองชั้นขึ้นไป โครงหลังคาต้องมีอัตราการทนไฟไม่น้อยกว่า 2 ชม.
- โครงหลังคาของอาคารที่มีพื้นที่อาคารรวมกันทุกชั้นในหลังคาเดียวกันไม่เกิน 1,000 ตร.ม. ไม่ต้องมีอัตราทนไฟ
- โครงหลังคาของอาคารที่อยู่สูงจากพื้นอาคารเกิน 8 ม. และอาคารนั้นมีระบบดับเพลิงอัตโนมัติ หรือมีการป้องกันความร้อน หรือระบบระบายความร้อน ไม่ต้องมีอัตราทนไฟ
การกำหนดมาตรฐานดังกล่าวถือเป็นจุดเริ่มต้นที่ดีในการก่อสร้าง เพื่อความปลอดภัยทั้งปัจจุบันไปจนถึงอนาคตข้างหน้าของผู้อยู่อาศัย
ข้อควรรู้ก่อนทา สีกันไฟไหม้
การเลือกใช้สีกันไฟเป็นอีกหนึ่งวิธีที่จะสามารถช่วยยืดเวลา และเพิ่มโอกาสรอดชีวิตของทุกคนได้ เพราะ สีกันไฟไหม้ เป็นสีที่มีความทนทานสูง และมีความสำคัญในการปกป้องโครงสร้างเหล็กของอาคาร สำหรับผู้ใช้งานจำเป็นต้องศึกษาข้อควรรู้ การทาสีกันไฟ ก่อนเริ่มต้นใช้งาน ซึ่งข้อควรรู้หลักๆ มีดังนี้
- ข้อกำหนดทั่วไป
- ผู้ติดตั้งต้องเป็นผู้จัดเตรียมคนงาน, เครื่องมือ และเครื่องจักรที่ใช้ในการปฏิบัติงานและติดตั้ง
- ต้องติดตั้งวัสดุป้องกันไฟทั้งหมดที่ระบุไว้ในแบบ, ระบุไว้ ณ ที่นี้ และ/หรือตามความจำเป็นของสภาพหน้างาน
- คุณสมบัติที่ต้องการ
- วัสดุป้องกันไฟโครงสร้างเหล็กต้องมีอัตราการทนไฟตามกฎกระทรวง ติดตั้งด้วยวิธีการพ่นหรือทาบนโครงสร้างเหล็ก
- ข้อกำหนด
- ก่อน การทาสีกันไฟ ต้องใช้วัสดุป้องกันไฟโครงสร้างเหล็กที่ได้มาตรฐานตามการทดสอบมาตรฐาน ASTM E119
- การรับรองคุณภาพ
- ต้องใช้วัสดุป้องกันไฟแต่ละรุ่นที่ผลิตจากโรงงานเดียวกันที่ได้มาตรฐาน
- ผลิตภัณฑ์, การติดตั้ง และความหนาของวัสดุกันไฟ จะต้องเป็นไปตามข้อกำหนดเกี่ยวกับอัตราการทนไฟ
- ผู้ติดตั้งวัสดุป้องกันไฟต้องเข้านำเสนอวิธีการติดตั้งก่อนการติดตั้งเพื่อตรวจรับวัสดุ, การติดตั้ง, ความหนา, กระบวนการติดตั้ง และหัวข้ออื่นๆ
- ส่วนประกอบของผลิตภัณฑ์
- วัสดุป้องกันไฟ ต้องเป็นวัสดุประเภท Solvent-Based Intumescent หรือ Water-Based Intumescent และต้องไม่มีสาร asbestos
- วัสดุป้องกันไฟ เมื่อแห้งตัวแล้วจะกลายเป็นแผ่นฟิล์มบางผิวขรุขระ มีความหนาตามชั่วโมงการทนไฟที่กำหนดตามกฎกระทรวง
ผลิตภัณฑ์ที่เหมาะสมเมื่อวัสดุแห้งแล้ว จะต้องมีความทนทานและยึดติดกับโครงสร้างได้เป็นอย่างดี ขอแนะนำ FIREKOTE S99 สีกันไฟ ช่วยปกป้องโครงสร้างเหล็กภายในอาคารเวลาเกิดเหตุเพลิงไหม้ ผ่านมาตรฐาน ASTM E119 และเป็นไปตามกฎกระทรวงฉบับที่ 60 ได้รับมาตรฐานการรับรองสากล
เทคนิค การทาสีกันไฟ
การทา สีกันไฟไหม้ ไม่ใช่การทาสีทาบ้านธรรมดาทั่วไป แต่ต้องอาศัยช่างที่มีความเชี่ยวชาญ เพราะเป็นการทาสีบริเวณโครงสร้างอาคารที่มีกรรมวิธีหลายขั้นตอน จึงต้องมีการเตรียมความพร้อมและตรวจเช็กสภาพโครงสร้างของอาคารในหลายๆ ด้าน เพื่อความปลอดภัยของผู้อยู่อาศัยในระยะยาว ซึ่งขั้นตอนในการทาสีกันไฟ มีดังนี้
ขั้นตอน การทาสีกันไฟ
- เตรียมความพร้อมของผู้ปฏิบัติงาน และสวมใส่อุปกรณ์นิรภัยให้เรียบร้อย
- ตั้งนั่งร้านตามมาตรฐาน ให้เหมาะสมกับภาพการใช้งานจริง
- ตรวจเช็กสภาพความชื้นสัมพัทธ์ในอากาศ ก่อนเริ่มปฏิบัติงานจริง
- ตรวจสอบชิ้นงานพร้อมทำความสะอาดชิ้นงาน จำพวก ฝุ่นละออง ตะกอนเหล็กฯ
- ทาสีกันสนิม ความหนาประมาณ 35-50 ไมครอน ทิ้งระยะเวลาประมาณ 4-6 ชม. แล้วจึงตรวจเช็กความหนาสีกันสนิม บันทึกค่าลงตารางเช็กความหนา
- ทาสีกันไฟ Firekote (S99) เที่ยวละ 200-250 ไมครอน ทิ้งระยะเวลาประมาณ 4-6 ชม. ในแต่ละรอบ
- ทาสีกันไฟ Firekote (S99) จนได้ความหนาตามที่ระบุ ทิ้งระยะเวลาประมาณ 8-10 ชม. แล้วจึงตรวจเช็กความหนาของ สีทนไฟ บันทึกค่าลงตารางเช็กความหนา
- ทาสีทับหน้าความหนา 35-50 ไมครอน ทิ้งระยะเวลาประมาณ 6-8 ชม. แล้วจึงตรวจเช็กความหนาสีทับหน้า บันทึกค่าลงตารางเช็กความหนา
สรุป การทาสีกันไฟ ปลอดภัยอย่างไร?
สรุปแล้ว การทาสีกันไฟ บนโครงสร้างหลักของอาคาร เป็นการป้องกันการลุกไหม้ของไฟเมื่อเกิดอัคคีภัย โดยในกรณีที่เกิดเหตุเพลิงไหม้ สีกันไฟจะทำหน้าที่เป็นฉนวนป้องกันไฟโครงสร้างเหล็กจากความร้อน ยับยั้งการแพร่กระจายความร้อน และช่วยลดการลุกไหม้ของวัสดุที่ติดไฟได้
เลือก การทาสีกันไฟ ปลอดภัย ได้มาตรฐาน ต้องที่ Bitec Enterprise
Bitec Enterprise เป็นบริษัทที่มีประสบการณ์ทางด้านสถาปัตยกรรมและวิศวกรรมมาอย่างยาวนาน ได้รับการรับรองมาตรฐาน ISO 9001:2015 ในเรื่องของระบบบริหารที่มีคุณภาพ ช่วยให้ผู้ใช้งานมั่นใจในบริการ
นอกจากนี้ทางบริษัทยังมีการจำหน่ายสินค้าที่เกี่ยวข้องกับการก่อสร้าง เพื่อช่วยยกระดับในเรื่องของการใช้งาน ซึ่ง สีกันไฟ ที่มีคุณภาพ ต้องเลือกตามมาตรฐานที่กฎหมายกำหนดไว้ ดังนี้
- มาตรฐาน เอเอสทีเอ็ม อี 119 (ASTME 119) หรือ ISO 834 ตามพรบ.ควบคุมอาคาร กรมโยธาธิการและผังเมือง
- มาตรฐานว่าด้วยวัสดุและผลิตภัณฑ์ด้านอัคคีภัย กรมโยธาธิการและผังเมือง
- มยผ.1333-61 มาตรฐานความคงทนของอาคารเหล็กโครงสร้างรูปพรรณ
- มยผ.8212-52 มาตรฐานการทดสอบแรงยึดเหนี่ยววัสดุพ่นเคลือบผิวกันไฟ
- มยผ.8101-52 ข้อกำหนดการควบคุม การใช้งานวัสดุภายในอาคาร
- มยผ.8302-52 มาตรฐานประกอบการออกแบบติดตั้งชิ้นส่วนโครงสร้างทนไฟ
- มยผ.8303-52 มาตรฐานประกอบการออกแบบวัสดุและอุปกรณ์ป้องกันการลามไฟ
หากคุณกำลังมองหา สีกันไฟ คุณภาพดี เลือก Bitec Enterprise ผู้เชี่ยวชาญด้านสีกันไฟ ด้วยประสบการณ์มากกว่า 25 ปี ทั้งด้านการให้บริการ และให้คำปรึกษา พร้อมสินค้าที่ได้มาตรฐานทุกรายการ รับรองว่าประสิทธิภาพของสินค้าจะตอบโจทย์ทุกการใช้งานอย่างแน่นอน
ติดต่อสอบถามข้อมูล และข้อสงสัยต่างๆ ของผลิตภัณฑ์ เพิ่มเติมได้ที่นี่
Facebook: BITEC Enterprise Ltd.
E-mail: info@bitecenterprise.com
Line: @Bitecenterprise
Tel: 02-717-1155